ศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่น มีอะไรบ้าง ประวัติ และหลักการเล่นพื้นฐาน

ศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่น เป็นศาสตร์ในกีฬาการต่อสู้อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกเป็นอย่างมาก

ศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นศิลปะที่สวยงาม นำไปใช้ได้จริง และสามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัยเลยทีเดียว แถมยังสร้างความบันเทิงและสร้างสุขภาพที่แข็งแรงให้กับผู้เล่นได้อีกด้วย ดังนั้นวันนี้เราเลยจะพามาทำความรู้จักกับศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่น ว่ามีอะไรบ้าง แต่ละศิลปะการต่อสู้มีประวัติที่มาอย่างไร และมีหลักการเล่นอย่าไรบ้าง รับรองว่าหลายคนที่ชื่นชอบศิลปะการต่อสู้ต้องชอบมากอย่างแน่นอนเลยทีเดียวค่ะ

ศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่น

ยูโด (Judo)

ยูโด หรือ โคโดกังยูโด เป็นศาสตร์การต่อสู้ที่เน้นความนุ่มนวลเป็นหลัก สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธได้ด้วยมือเปล่า โดยใช้วิธีโอนอ่อนผ่อนตาม หรือที่เรียกกันว่า หนทางแห่งความนุ่มนวล ยูโดถูกพัฒนามาจาก ยิวยิตสู (Ju-Jitsu)

ซึ่งเป็นศาสตร์การต่อสู้ของนักรบญี่ปุ่นในสมัยโบราณ ยูโดถูกคิดค้นขึ้นโดย คะโน จิโงะโร ปรมาจารย์ทางด้านศิลปะการต่อสู้และปรัชญา ทำให้ยูโดเป็นศาสตร์การต่อสู้ที่ผสมผสานกันระหว่างวิทยายุทธการต่อสู้และวิถีแห่งปรัชญา

ในช่วงแรกเริ่ม ยูโดยังไม่เป็นที่ยอมรับจากผู้คนในญี่ปุ่นสักเท่าไหร่ เพราะเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เกิดขึ้นใหม่และถูกตัดทอนความอันตรายที่มีอยู่ในยิวยิตสู ยูโดจึงมีความรุนแรงน้อยกว่ายิวยิตสู แต่ยูโดมีการปรับรูปแบบการเคลื่อนไหวและท่าทางให้สามารถล้มคู่ต่อสู้ได้ด้วยความนุ่มนวล

จนในปี 1886 กรมตำรวจญี่ปุ่นได้ทำการจัดแข่งขันระหว่างยูโดกับยิวยิตสูขึ้น โดยแบ่งออกเป็นฝ่ายละ 15 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่ายูโดชนะ 13 คน เสมอ 2 คน ทำให้ยูโดเริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้น และเริ่มแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมากขึ้น

ยูโดมี  3 เทคนิคที่ใช้ในการต่อสู้ ได้แก่ นาเงวาซา (Nagewaza) เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการทุ่ม กะตะเมวาซา (Katamawaza) เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการกอดรัดเพื่อให้หายใจไม่ออก การจับยึด และการล็อคข้อต่อ และอาเตมิวาซา (Atemiwaza)

เป็นเทคนิคการชกต่อย ทุบตี ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งเทคนิคหลังนี้จะใช้ในการป้องกันตัวเท่านั้นและไม่ให้มีการจัดแข่งขัน เพราะเป็นเทคนิคที่รุนแรงและอันตราย

ศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่น

ยิวยิตสู (Jujutsu)

ยิวยิตสู มีความหมายว่า ศิลปะแห่งความอ่อน เป็นศาสตร์การต่อสู้ของนักรบญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ยิวยิตสูจะต้องฝึกสมาธิควบคู่ไปด้วย เพราะการต่อสู้แบบยิวยิตสูจะไม่คำนึงถึงความเมตตาและศีลธรรม อีกทั้งยังใช้เทคนิคที่คอยหาโอกาสซ้ำเติมคู่ต่อสู้อยู่ตลอดเวลาอีกด้วย

ซึ่งหากไม่มีสมาธิในการต่อสู้แล้ว อาจแพ้ได้ แต่อย่างไรก็ตามการต่อสู้แบบยิวยิตสูก็ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อให้คู่ต่อสู้มีอันตราถึงแก่ความตาย แต่มีจุดประสงค์เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้รับบาดเจ็บและยอมแพ้ไปในที่สุด

ซึ่งถ้าคู่ต่อสู้ไม่ยอมแพ้ ก็อาจทำให้พิการหรือทุพพลภาพได้ เนื่องจากภูมิประเทศของญี่ปุ่นมีลักษณะเป็นเกาะ ทำให้ในสมัยโบราณผู้คนที่กระจายอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ซึ่งมีความคิดเห็นไม่ตรงกันและไม่สามารถเข้าพวกหรือรวมกลุ่มกันได้

จึงมีการแย่งชิงอำนาจกันและต้องการได้รับชัยชนะ มีการฝึกฝนวิชากันในกลุ่มเพื่อให้กลุ่มของตนมีพละกำลังที่แข็งแกร่งกว่ากลุ่มคู่ต่อสู้  ทำให้ในการทำสงครามและการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจต้องใช้ศิลปะการต่อสู้หลายรูปแบบ

ไม่ว่าจะเป็น การฟันดาบ การยิงธนู การใช้หอก ทวน หลาว การขี่ม้า รวมไปถึงยิวยิตสูด้วย ซึ่งยิวยิตสูเป็นการต่อสู้โดยการใช้มือเปล่าในระยะประชิดตัว และใช้ต่อสู้เมื่อนักรบอยู่ในระยะหรือสถานการณ์ที่ไม่สามารถใช้อาวุธที่ถนัดได้

ยิวยิตสูมีเทคนิคในการต่อสู้ที่สำคัญคือ เทคนิคการใช้วิธีจับมือหักข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เทคนิคการเตะ-ต่อย เทคนิคการทุ่ม (เทคนิคนี้จะคล้ายกับยูโด) และเทคนิคการล็อค รัดคอ และหักแขน ด้วยความที่ยิวยิตสูเป็นการต่อสู้ที่มีมาตั้งแต่โบราณ

มีกระบวนท่าทางที่ต่อกรด้วยยาก จึงเป็นศิลปะการต่อสู้ที่อันตรายอีกชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ แต่ในปัจจุบันได้มีการลดทอนความอันตรายลงมาบ้างแล้ว อีกทั้งในการแข่งขันก็ยังมีกฎกติกาที่ลดอันตรายและสร้างความปลอดภัยให้กับนักกีฬามากขึ้นด้วย

ศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่น คาราเต้

คาราเต้ (Karate)

คาราเต้ หรือ คาราเต้โด เป็นศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่นที่มีต้นกำเนิดมาจาก เมืองโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นศาสตร์การต่อสู้แขนงหนึ่งของญี่ปุ่นที่มีการผสมผสานกันระหว่างการต่อสู้แบบชาวริวกิว (โอกินาวะในปัจจุบัน) และชาวจีน เนื่องจากในสมัยก่อนเมืองจีนและเมืองโอกินาวะเป็นเมืองที่มีการติดต่อค้าขายกันเป็นประจำ

จึงทำให้เมืองโอกินาวะได้รับอิทธิพลในด้านต่าง ๆ มาจากเมืองจีนรวมถึงศิลปะการต่อสู้ด้วย โดยในปี 1921 คาราเต้ได้เริ่มแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น จากการที่ชาวริวกิวได้เริ่มอพยพเข้ามาในญี่ปุ่น และคาราเต้ก็เริ่มแพร่หลายและเป็นที่รู้จักในคนทั่วโลกมากขึ้น หลักสำคัญของคาราเต้ ประกอบด้วย 3K คือ

  • Kihon (กิฮ้อง) เป็นท่าพื้นฐาน
  • Kumite (คุมิเต้) เป็นการต่อสู้
  • Kata (คาตะ) เป็นการใช้ท่าทางคล้ายเพลงมวย

ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะได้เป็น KARATE (คาราเต้) โดยทั้ง 3K มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีสุขภาพดี แข็งแรง สามารถต่อสู้เพื่อป้องกันตัวและช่วยเหลือผู้อื่นได้ในยามคับขัน และอีกหลักที่สำคัญคือ DO (โด) เป็นหลักที่อ้างอิงมาจากปรัชญาในศาสนาพุทธนิกายเซน คือการฝึกตนให้มีระเบียบวินัยต่อตนเองและผู้อื่น มีมารยาท กาลเทศะ และความอ่อนน้อมถ่อมตน เพื่อควบคุมจิตใจและไม่ไปทำร้ายผู้อื่นเหมือนดาบที่อยู่ในฝักนั่นเอง

ในขั้นตอนการฝึกฝนของคาราเต้โด เริ่มต้นจะมีการสอนในเรื่องของธรรมเนียมปฏิบัติก่อน ได้แก่ ท่าทำความเคารพต่าง ๆ อย่างการปฏิบัติตนต่อเซนเซ (อาจารย์) เซมไป (รุ่นพี่) มารยาทในโดโจ (โรงฝึก) ระเบียบในการฝึกต่าง ๆ แล้วจึงจะมาสอนเกี่ยวกับหลักในวิชาคาราเต้ โดยจะเริ่มต้นจากการยืนในท่าชิเซนไต (ท่ายืนธรรมชาติ), ซึกิ (ท่าชก), อุเกะ (ท่าปัดป้อง), เกริ (ท่าเตะ), ดาจิ (ท่ายืนและการย่างก้าว)  และนำท่าชกปัดหรือเตะมารวมกับท่าย่างก้าว และจึงมาเป็นท่ากิฮ้อง (พื้นฐาน) ต่าง ๆ

เมื่อนำท่าพื้นฐานมาฝึกเข้าคู่กันได้แล้ว ก็จะเป็นการฝึกเพื่อเพิ่มทักษะคูมิเต้ (การต่อสู้) และจึงมาเป็นการรวมท่าพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งเป็นการนำมาร้อยเรียงเป็นเพลงมวยไว้รำ หรือที่เรียกว่ากาต้า เพื่อใช้ฝึกสมาธิ และเทคนิครูปแบบในการต่อสู้ต่าง ๆ ตามลำดับ

ศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่น ไอคิโด

ไอคิโด (Aikido)

ไอคิโด เป็นศิลปะการต่อสู้สมัยใหม่ที่ผสมผสานกันระหว่าง ปรัชญา ศาสนา และการต่อสู้ โดยไอคิโดมีความหมายว่า หนทางแห่งจิตวิญญาณที่ประสานกัน ไอคิโดถูกคิดค้นและก่อตั้งโดย อาจารย์ โมริเฮ อุเอชิบะ (Morihei Ueshiba) เมื่อราว ๆ 100 กว่าปีก่อนในสมัยไทโช (Taisho) ในช่วงศตวรรษที่ 20 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ฝึกวิชาสามารถใช้ป้องกันตัวเองได้โดยไม่ต้องใช้อาวุธ

เริ่มแรกในช่วงปี 1920 อาจารย์อุเอชิบะได้เริ่มพัฒนาไอคิโดขึ้นมา โดยพัฒนามาจาก ไดโต-ริว ไอคิ-ยิวยิทสู  ที่อาจารย์ อุเอชิบะ เรียนมาโดยตรงจากอาจารย์ ทาเคดะ โซคาคุ อีกทั้งยังมีการผสมผสานหลักปรัชญาในเรื่องของสันติภาพในจักรวาลและการปรองดอง เข้าไปในวิทยาการต่อสู้ด้วย

ทำให้มีผู้ที่สนใจในวิชาการต่อสู้ไอคิโดมากขึ้น จนกระทั่งในปี 1942 สมาคม เกรทเทอร์ แจแปน มาเชี่ยล เวอร์ชู โซไซตี้  ได้นำศิลปะการต่อสู้ไอคิโดเข้าร่วมในการจัดระเบียบและเข้าสู่ศูนย์กลางของศิลปะป้องกันตัวญี่ปุ่น ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน จึงทำให้ไอคิโดเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้น

ลักษณะพิเศษของไอคิโดที่ทำให้เป็นที่นิยมไปทั่วโลกเลยก็คือ การปฏิเสธการท้าทายที่จะเอาชนะผู้อื่น และไม่สอนให้ทำร้ายผู้อื่นด้วยวิธีการชก เตะ ถีบ แต่จะเน้นการสอนให้ระงับหรือควบคุมความก้าวร้าว ความรุนแรงจากฝ่ายตรงข้ามด้วยความเมตตา ไม่ตอบโต้กันด้วยพละกำลัง และที่สำคัญคือไม่ต้องการให้ฝ่ายตรงข้ามที่เข้ามาทำร้ายได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยไอคิโดจะมีการยึดหลัก 4 ข้อ ได้แก่

  1. นำตัวออกจากทิศทางของการโจมตี
  2. โอนอ่อน กลมกลืน ตามแรง และเปลี่ยนทิศทางของการโจมตี
  3. ใช้เทคนิคการควบคุมโดยไม่มีเจตนาทำร้าย
  4. ยุติความขัดแย้ง โดยไม่ใช้อาวุธ และนำกลับเข้าสู่ความสงบดังเดิม

ด้วยปรัชญาดังกล่าว ไอคิโดจึงเป็นจุดที่ทำให้ไอคิโดมีความแตกต่างจากศิลปะป้องกันตัวแบบอื่น ๆ ซึ่งไอคิโดจะมีการฝึกฝนที่มีความหลากหลาย ทั้งในเรื่องของการฝึกความแข็งแกร่งของร่างกาย ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะสำหรับไอคิโด อย่าง ท่าทุ่ม เทคนิคสำหรับการรุกที่มีทั้งการกระแทกและการยึด

เทคนิคสำหรับการรับอย่างการทุ่มและจับยึด รวมถึงยังมีการฝึกความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจด้วย อย่าง การฝึกควบคุม ผ่อนคลาย ยืดหยุ่น และอดทน พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้ามอย่างกล้าหาญ เที่ยงตรง และไม่ทำร้ายใคร

ศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่น เคนโด้

เคนโด้ (Kendo)

เคนโด้ เป็นศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นที่มีความหมายว่า วิถีแห่งดาบ เคนโด้ถูกดัดแปลงมาจากการใช้ดาบของซามูไรที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนานนับพันปีมาแล้ว โดยเคนโด้จะใช้ดาบที่ทำมาจากไม้เพื่อเอามาใช้ในการฝึกกระบวนท่าที่เน้นความต่อเนื่อง รวดเร็ว รุนแรง และเด็ดขาด ด้วยความที่เคนโด้เป็นศิลปะการต่อสู้ที่ต้องมีไหวพริบและการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วต่อเนื่องแล้ว

ยังเป็นการฝึกฝนจิตใจให้เข้มแข็ง โดยมีแนวคิดสำคัญเพื่อใช้ในการต่อสู้คือ การทำให้ร่างกาย จิตใจ และคมดาบเป็นอันหนึ่งอันหนึ่งเดียวกัน เนื่องจากเคนโด้เป็นกีฬาที่ต้องใช้อาวุธ (ดาบไม้ไผ่) ในการต่อสู้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรืออันตรายได้ จึงมีชุดเครื่องแบบที่ใช้ในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการต่อสู้

โดยหลัก ๆ จะมีทั้งหมด 2 อย่างได้แก่

1. เคนโดกิ (Kendogi) หรือชุดเสื้อผ้า ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนคือ กางเกงฮากามะ (Hakama) เป็นกางกางขายาว จีบกว้างด้านในเป็นนวมป้องกันการบาดเจ็บได้ เสื้อที่เรียกว่า เคโกคิ (Keigoki)

2. เสื้อเกราะ หรือที่เรียกว่าโบกุ (Bogu) ใช้เป็นเกราะสำหรับป้องกันส่วนบนของร่างกายไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ มีทั้งหมด 4 ชิ้นได้แก่ เม็ง (Men) ป้องกันศีรษะ, โด (Do) ป้องกันลำตัว, โคเต (Kote) ป้องกันข้อมือและแขน, ทาเระ (Tare) ป้องกันบริเวณสะโพก

ในเคนโด้ อุปกรณ์จะใช้เป็นดาบที่ทำมาจากไม้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

1. ชิไน (Shinai) เป็นดาบที่ทำจากไม้ไผ่ 4 ชิ้น นำมามัดรวมเข้าด้วยกันด้วยเชือกหนัง ใช้สำหรับฝึกฝนหรือฝึกซ้อมแบบทั่วไป

2. โบคุโตะ (Bokuto)  เป็นดาบไม้ที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง ใช้สำหรับฝึกในรูปแบบที่เป็นทางการ

หลักสำคัญที่เป็นแก่นแท้ของวิชาเคนโด้ นั่นก็คือ การผนวกกันระหว่าง ดาบ จิตใจ และร่างกาย เข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน การโจมตีโดยดาบไม้ไผ่ หรือ ชิไน จะถูกประสานรวมกันกับจิตและกาย จนสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ในพริบตาเดียว

ซึ่งจะเรียกกันว่า อิทโชะคุ อิตโต ( ISSOKU ITTO) หรือ ดาบเดียวในหนึ่งก้าว ซึ่งเป็นการทำให้เกิดชัยชนะด้วยการใช้พลังเพียงนิดเดียว ดังนั้น ผู้ที่ฝึกเคนโด้อย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้สูงอายุก็สามารถใช้หลักการนี้เอาชนะคู่ต่อสู้ที่มีร่างกายแข็งแรงกว่าได้อย่างง่ายดายเลยทีเดียว

“นอกจากที่จะเอาไว้ป้องกันตัวก็ยังทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงอีกด้วย”

บ้านบอลผลบอล | เว็บข่าวมวย วันนี้ 

https://www.aikijujutsu.com/ 

 

ดูบอลสด